Alternate Select - Wing Pointer

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันศุกร์ ที่ 24 เวลา 11.30 - 15.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้อาจารย์ให้ตอบคำถามในบทเรียนเเละส่งเข้าไปในไลน์กลุ่ม และเรียนเรื่องคุณลักษณะความคิดสร้างสรรค์และบทบาทของครูในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

บทบาทของครูผู้สอนในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 

           ควร จัดบรรยากาศเอื้อต่อการคิดสร้างสรรค์ ไม่เน้นระเบียบแบบแผน ยืดหยุดด้านเวลา ส่งเสริมให้เด็กใช้ความคิดโดยตั้งคำถามแปลกๆ สนใจและเคารพในความคิดของผู้เรียน  จัดกิจกรรมหลากหลาย ชักชวนให้ผู้เรียนตะหนักว่า ทุกคำตอบไม่จำเป็นต้องถูกต้องเพียงคำตอบเดียว ไม่ยึดติดกับตัวอย่างที่ดีที่สุด ให้อิสระการเลือกทำกิจกรรม ส่งเสริมคิดแบบเอกนัย (คิดริเริ่ม  คิดคล่องแคล่ว คิดยืดหยุ่น คิดละเอียดลออ) สร้างความสนใจแก่ผู้เรียน ให้ความสำคัญกับความคิดใหม่ๆการเรียนรู้โดยการเรียนการสอนที่เปิดสมอง หรือการเรียนรู้ด้วยความคิดเด็ก ทำให้เด็กอยากเรียนรู้ และทำกิจกรรมดังกล่าวได้ดีกว่าการสอนในกรอบ หรือตามกิจกรรมที่ออกคำสั่ง

บรรยากาศในการเรียน




การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา  ทำงานส่งตรงเวลา ตอบคำถามอาจารย์ตลอด
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและทำงานส่งครบและตรงเวลา

ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายทุกครั้งที่บอกว่าไม่เข้าใจ อาจารย์มีความใส่ใจนักศึกษา

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันศุกร์ ที่ 17 เวลา 11.30 - 15.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ


วันนี้อาจารย์สอนเรือง การเคลื่อนไหวเเละจังหวะ หลังจากนั้นได้มอบหมายงานให้นักศึกษาไปทำท่าโยคะเเละทำท่ประกอบเพลงแบบควาคิดสร้างสรรค์และส่งลงในไลน์


การเคลื่อนไหวจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายอย่างอิสระตาม จังหวะ โดยใช้เสียงเพลงคำคล้องจองการปฏิบัติตามสัญญาณ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือเสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก ตีฉิ่ง กลอง ระนาด ฯลฯ มาประกอบการเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิกสร้างสรรค์ เด็กวัยนี้ร่างกายกำลังอยู่ระหว่างพัฒนาใช้ส่วนต่างๆ ร่างกายยังคงมาผสมผสาน หรือประสานสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์มากนัก การเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กอาจยังดูไม่มั่นคง


การเคลื่อนไหวมีลักษณะ ดังนี้

 1. ช้า ได้แก่  การคืบ คลาน                                     
 2. เร็ว ได้แก่  การวิ่ง                        
 3. นุ่มนวล  ได้แก่  การไหว้  การบิน                          
 4. ขึงขัง   ได้แก่  การกระทืบเท้าดังๆ  ตีกลองดังๆ
           5. ร่าเริงมีความสุข  ได้แก่  การตบมือ  การหัวเราะ         
           6. เศร้าโศกเสียใจ  ได้แก่  สีหน้า  ท่าทาง ฯลฯ

ทิศทางการเคลื่อนไหว

1. เคลื่อนไหวไปข้างหน้า  และข้างหลัง                       
2. เคลื่อนไหวไปข้างซ้าย และข้างขวา
3. เคลื่อนตัวขึ้นลง                                                 
4. เคลื่อนไหวรอบทิศ

รูปแบบการเคลื่อนไหว

1. เคลื่อนไหวพื้นฐานได้แก่ การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของเด็กมี 2 ประเภท
1.1   เคลื่อนไหวอยู่กับที่ ได้แก่ ตบมือ ผงกศีรษะ  ขยิบตา ชันเขา เคาะเท้า เคลื่อนไหวมือและแขน มือและนิ้ว เท้าและปลายเท้า
1.2   การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่  ได้แก่  คลาน คืบ เดิน วิ่ง  กระโดด ควบม้า
ก้าวกระโดด 
2.1 เลียบแบบท่าทางสัตว์
2.2 เลียบแบบท่าทางคน
2.3 เลียนแบบเครื่องยนต์กลไกล และ เครื่องเล่น
2.4 เลียนแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติ
    3. การเคลื่อนไหวตามบทเพลง ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางประกอบเพลง เช่น เพลง ข.ไข่ หรือเพลงตามสมัยนิยม เป็นต้น
    4. การทำท่าทางกายบริหารประกอบเพลง ได้แก่  การทำท่าทางกายบริหารตามจังหวะและประกอบเพลง หรือคำคล้องจ้อง
    5. การเคลื่อนไหวเชิงสร้างสรรค์ ท่าทางขึ้นเองอาจชี้นำโดยการป้อนคำถามเคลื่อนไหวโดยใช้อุปกรณ์ประกอบ เช่น ห่วงยาง แถบผ้า บัตรคำ ริบบิ้น ฯลฯ
    6. การเล่นหรือการทำท่าทางตามคำบรรยาย เรื่องราว ได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือแสดงท่าทางตามจินตนาการจากเรื่องราวหรือคำบรรยายที่ผู้สอน เล่า
    7. การปฏิบัติตามคำสั่ง หรือข้อตกลงได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทาง ตามสัญญาณตามคำสั่งตามที่ตกลงไว้ก่อนเริ่มกิจกรรม
    8. การฝึกท่าทางเป็นผู้นำ ผู้ตามได้แก่ การเคลื่อนไหวหรือทำท่าทางจากความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเองแล้วให้เพื่อนปฏิบัติตามกิจกรรม

คลิปการทำกิจกรรม
โยคะ



กิจกรรมทำท่าประกอบเพลงตามความคิดสร้างสรรค์


การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา ทำงานส่งตรงเวลา
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลาตั้งใจฟังอาจารย์และช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์ อาจารย์มาสอนตรงเวลา และแนะนำวิธีการทำงานว่าทำอย่างไรให้ออกมาดี และถูกต้อง



วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันศุกร์ ที่ 10 เวลา 11.30 - 15.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เรียน ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย


รศ.ดร.จีระพันธุ์  พูลพัฒน์  (2549 อ้างถึงใน Harris.1998) อธิบายว่าการคิดสร้างสรรค์ว่าคือความหมายของการสร้างสรรค์ที่นำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ และสรุปสาระไว้ 3 ประเด็น ดังนี้
1. ความสามารถ (An Ability) คือความสามารถในการจินตนาการ หรือประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ เป็นความสามารถที่จะทำให้เกิดความคิดใหม่ด้วยการรวม เปลี่ยนแปลง หรือปรับมาใช้จากความคิดที่มีอยู่ทุกคนมีความสามารถในการสร้างสรรค์

2. ทัศนคติ (An Attitude) การสร้างสรรค์เป็นทัศนคติ ความสามารถ ในการที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลงและสิ่งใหม่ ความเต็มใจที่จะเล่นกับความคิดและความเป็นไปได้ ความยืดหยุ่นในการมอง มีนิสัยที่จะสนุกกับสิ่งที่ดี ขณะเดียวกันก็หาแนวทางในการปรับปรุง
3. กระบวนการ (A Process) คนที่สร้างสรรค์จะทำงานหนัก จะปรับปรุงความคิดและวิธีแก้ปัญหาอยู่ตลอด โดยการที่จะค่อยๆ ยกเลิกหรือปรับงานของตน


ลักษณะของเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
              
เด็กทุกคนที่เกิดมามีความสามารถทางความคิดสร้างสรรค์ (ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา, 2537 : 103 ) แต่ความคิดสร้างสรรค์ที่มีนั้นจะปรากฏออกมาให้เห็นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ที่เกี่ยวข้อง  จะจัดบรรยากาศสนับสนุนให้เด็กได้ใช้ความพยายามทางสร้างสรรค์ของเด็กออกมานักจิตวิทยา Rogers (อ้างถึงใน Fisher,1992 : 35) ได้กล่าวว่า มนุษย์ต้องการความปลอดภัยทางจิตและอิสรภาพทางจิต  ถ้าเขาจะต้องทำอะไรอย่างสร้างสรรค์ การที่เด็กรู้สึกปลอดภัยทางใจ จะมีกระบวนการที่เกี่ยวข้อง 3 อย่าง คือ
              1. ยอมรับเด็กแต่ละคน ไม่ว่าจะมีการเสนออะไรออกมา
              2. หลีกเลี่ยงการประเมินภายนอกและกระตุ้นให้มีการประเมินตนเอง
              3. พยายามมองโลกในแง่มุมของเด็ก เข้าใจและยอมรับเขา
              ความอบอุ่น การได้รับการยอมรับทางบวก ความรู้สึกมั่นคง และการมีจิตที่อิสระของเด็กจะช่วยให้เขาคิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ออกมา
              Fisher (1992 : 36) ได้กล่าวถึง ลักษณะของเด็กที่อยู่ในกรอบ (safeguarding self) กับลักษณะของเด็กที่ใฝ่รู้ใฝ่ทดลอง ที่จะนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ (experimental self) ไว้ดังนี้

อยู่ในกรอบ ชอบทดลอง
1)   หวาดระแวงกับสิ่งใหม่1)   เปิดตนเองในการแสวงหาประสบการณ์
2)   ระมัดระวัง2)   อยากรู้อยากเห็น
3)   ยึดติดกับสิ่งที่รู้สิ่งที่เคยทำ3)   คาดคะเน เสี่ยงเดา
4)   จะทำตามกฎระเบียบ4)   หยั่งรู้ (intuitive)
5)   ทำตามประเพณีนิยม5)   ไม่ยึดติดกับประเพณีนิยม
6)   ขึ้นอยู่กับคนอื่น6)   แสดงความเป็นอิสระ
7)   ลงโทษกล่าวโทษสิ่งที่ผิด7)   ไม่คิดมากกับการทำผิด
8)   หลีกเลี่ยงการเสี่ยง8)   กล้าเสี่ยง
9)   ตื่นตัวต่อเหตุการณ์ที่จะเป็นอันตราย9)   แสวงหารูปแบบใหม่
10)  หลีกเลี่ยงการทำผิด10)  แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยความหวัง
11)  กลัวสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา11)  ชอบเล่
12)  เคร่งเครียด12)  มองสิ่งต่างๆ อย่างรู้สึกสนุก
13)  หลีกเลี่ยงการทำอะไรที่ทำให้ประหลาดใจ13)  ชอบสิ่งที่ทำให้ประหลาดใจ


รูปในการเรียน




การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา  ทำงานตามที่อาจารย์สั่ง ตามกำหนดเวลา
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและทำงานส่งครบ ช่วยกันแสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายอย่างละเอียดจึงทำให้ทำงานออกมาได้อย่างถูกต้อง อาจารย์เป้นห่วงนักศึกษาและบอกให้ดูแลตัวเอง



วันอาทิตย์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันศุกร์ ที่ 3 เวลา 11.30 - 15.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์สอนต่อจากเมื่อสัปดาห์ที่เเล้ว วันนี้จะเป็นการเรียน เรื่อง มาตราฐานการเรียนของการจัดการเรียนรู้แบบ STEM

สะเต็มศึกษา (STEM Education) คือ แนวทางการจัดการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยเน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต และการทำงาน ช่วยนักเรียนสร้างความเชื่อมโยงระหว่าง 4 สหวิทยาการ กับชีวิตจริงและการทำงาน  การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ไม่เน้นเพียงการท่องจำทฤษฎีหรือกฏทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ แต่เป็นการสร้างความเข้าใจทฤษฎีหรือกฏเหล่านั้นผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิด  ตั้งคำถาม  แก้ปัญหาและการหาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อค้นพบใหม่ๆ พร้อมทั้งสามารถนำข้อค้นพบนั้นไปใช้หรือบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้

STEM ย่อมาจาก Science, Technology, Engineering and Mathematics เป็นแนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนทั้งสี่สาขาเข้าด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์ (Science), เทคโนโลยี (Technology), วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics) เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ทุกแขนงมาใช้ในการแก้ปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยการจัดการเรียนรู้ด้วยครูหลายสาขาร่วมมือกัน
และอาจารย์ก็ให้ดูงานของเพื่อนที่ให้ทำส่งในสัปดาห์ที่เเล้ว

รูปภาพในการเรียน


การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจทำงานส่งอาจารย์
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายเนื้อหาต่างๆได้เข้าใจง่าย 


วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันศุกร์ ที่ 27 เวลา 11.30 - 15.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์สอน เกี่ยวกับ STEM ในวิชาของวิทยาศาสตร์ โดยมีกิจกรรมตัวอย่างมาให้ดูและให้จับคู่ไปทำและส่งเข้าไปในเฟสบุ๊ค

วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตรวมทั้ง กระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์และ กลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว


กระบวนการที่ผู้เรียนใช้ค้นคว้า
หาองค์ความรู้ (body of knowledge) ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะสำคัญประการหนึ่งของกระบวนการวิทยาศาสตร์ ที่ต้องพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักเห็นความสำคัญ และมีความชำนาญเพื่อสามารถค้นหาความรู้ด้วยตนเองได้ การแสวงหาความรู้ ความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์นั้น จะเกิดจากการสังเกตธรรมชาติและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติแล้วรวบรวมข้อมูลผ่านทางประสาทสัมผัส นำข้อมูลที่ได้ไปจัดจำแนกและคิดพิจารณาเหตุและผล เกิดเป็นความคิดและความเชื่อ นำความคิดความเชื่อไปปฏิบัติก่อให้เกิดการสังเกต การรวบรวมข้อมูล และ การคิดเป็นวัฏจักรอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบที่นักวิทยาศาสตร์ใช้ในการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. ขั้นสังเกตเพื่อระบุปัญหา คือการระบุปัญหา หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา และกำหนด ขอบเขตของปัญหา
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน คือการคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น หรือการคาดเดาคำตอบ ที่จะได้รับ
3. ขั้นการรวบรวมข้อมูล คือการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบ สมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยัน อาจทำได้โดยการสังเกต หรือการทดลอง
4. ขั้นสรุปผล คือการสรุปว่าจะปฏิเสธ หรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผล เพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา
รูปในการเรียน

ในภาพอาจจะมี 5 คน, ข้อความ


กิจกรรมคู่ 





การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา และทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อน แบ่งหน้าที่กันในการทำงาน ส่งงานได้ตรงเวลา
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา แบ่งกลุ่มกันทำงานที่อาจารย์มอบหมายอย่างตั้งใจ

ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายวิธีการทำงานได้เข้าใจง่าย ทำให้งานออกมาสำเร็จและรวดเร็ว


วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

 วันศุกร์ ที่ 20 เวลา 11.30 - 15.30 น.
ความรู้ที่ได้รับ

สัปดาห์นี้เป็นการเรียน การสอน แบบเรียนออนไลน์ เพราะติดสถานการณ์ COVID - 19 และวันนี้อาจารยืก็ให้เเต่งนิทาน คำคล้องจอง ทำเป็นกลุ่ม 3 คน เสร็จเเล้วให้ส่งเข้าไลน์กลุ่ม

รูปในการเรียน

ในภาพอาจจะมี 2 คน

กิจกรรม นิทาน


กิจกรรม คำคล้องจอง



กิจกรรม ปริศนาคำทาย



กิจกรรมส่งเสริมการฟัง






การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา  อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำงานสามคน ร่วมมือกับเพื่อนๆในการทำงาน ช่วยกันแก้ปัญหา เพราะไม่ได้อยู่ด้วยกัน จนทำงานสำเร็จได้ด้วยดี
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา แบ่งกลุ่มและแก้ไขปัญหาของแต่ละกลุ่มได้อย่างดี ทำให้งานออกมาสำเร็จ
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เข้านักศึกษาที่ต้องทำงานกลุ่มโดยมีอุปสรรค์ อาจารย์จึงคอยให้คำแนะนำตลอด

วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

 วันที่จันทร์ที่ 9 เวลา 11.30 - 15.30 น.
ควารู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรมหลายกิจกรรม

กิจกรรมเเรก

อาจารย์ให้กระดาษมาเขียนประสบการณ์จากที่ได้จากความคิดสร้างสรรค์

กิจกรรมสอง

อาจารย์ให้ลากเส้นไม่มีที่สิ้นสุดและระบายสี


กิจกรรมสาม ต่อตามรูปทรง


กิจกรรมสี่ วาดรูปและระบายสีในช่อง



การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา อาจารย์ให้ทำงานศิลปะของตนเองโดยใช้ความคิดสรรค์ สามารถทำผลงานออกมาได้ทันเวลาที่อาจารย์กำหนด
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและทำงานส่งตามเวลาที่อาจารย์กำหนด
ประเมินอาจารย์ อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดที่อิสระและหลากหลาย