Alternate Select - Wing Pointer

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 

วันที่จันทร์ที่ 27 เวลา 12.30 - 15.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์และให้จับกลุ่มสร้างสรรค์ เรือ ออกมาให้ดี

ความคิดสร้างสรรค์ คือ ความสามารถทางสมองของบุคคลที่จะคิดได้หลายทิศหลายทาง หรือคิดได้หลายคำตอบ และความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆโดยมีสิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดความคิดใหม่ต่อเนื่องกันไป และความคิดสร้างสรรค์นี้อาจเป็นความคิดใหม่ผสมผสานกัประสบการณ์ก็ได้

องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์

  1. มีความคิดริเริ่ม หมายถึง มีความคิดที่แปลกใหม่ ไม่ซ้ำกับใคร และแตกต่างจากความคิดธรรมดา
  2. มีความคิดคล่องแคล่ว หมายถึง ความคิดที่เกิดขึ้นเป็นความคิดที่ไม่ซ้ำกันในเรื่องเดียวกันในด้านต่างๆ เช่น การเลือกใช้ถ้อยคำ การเชื่อมโยงความสัมพันธ์
  3. มีความยืดหยุ่น หมายถึง มีรูปแบบการคิดที่อาจนำเสนอเรื่องราวเดียวกันในรูปแบบต่างๆ ที่ไม่ตายตัวหรือสามารถดัดแปลงความรู้หรือประสบการณ์ในเรื่องต่างๆที่มีอยู่แล้วนำมาเขียนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น
  4. มีความคิดละเอียดลออ หมายถึง ในการคิดสามารถเก็บรายละเอียดของเรื่องต่างๆ อย่างมีขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน สามารถจัดแต่งความคิดหลักให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

บุคลิกภาพของบุคคลกับความคิดสร้างสรรค์

นักจิตวิทยา ค้นพบว่า ที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงนั้น มักมีคุณลักษณะ ที่เกี่ยวข้อง กับความ สามารถ ดังต่อไปนี้คือ
  • ความฉลาด (Intelligence)
  • ความเอาใจใส่ใฝ่รู้ (Awareness)
  • ความสามารถ ที่ตอบสนองความคิด ได้คล่องแคล่ว (Fluency)
  • ปรับสภาพความคิดได้ง่าย (Felicity)
  • มีความคิดริเริ่ม (Originality)

คุณลักษณะประกอบอื่นๆของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์

ความรอบคอบพิถีพิถันช่างสังเกต (Elaboration)
  • ความช่าง สงสัย (Skepticism)
  • ความดื้อรั้นดันทุรัง (Persistence)
  • การมีอารมณ์ขัน (Humor)
  • สนุกสนานขี้เล่น (Playfulness)
  • ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-confidence)
  • ความไม่ชอบคล้อยตาม ผู้อื่นโดยง่าย (Non-conformity)


บรรยากาศในการเรียน



การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายถูกต้อง
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกต้องแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมที่อาจารย์สั่ง
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ให้ทำกิจกรรมกลุ่ม และให้คำแนะนำเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และไม่เหมือนใคร





วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 

วันที่จันทร์ที่ 20 เวลา 12.30 - 15.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ

สัปดาห์เเรกของการเรียนความคิดสร้างสรรค์ วันนี้เรียน เรื่อง รูปแบบการคิด

ทักษะการคิด (Thinking skill) มีรูปแบบต่างๆ ได้แก่
1. การคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking)  หมายถึง กระบวนการคิดในรูปแบบใหม่ๆ ความสามารถในการรับรู้ความคิดใหม่ ๆ และนวัตกรรมโดยแยกออกจากความคิดทฤษฎีกฎและขั้นตอนการทำงาน มันเกี่ยวข้องกับการวางสิ่งต่างๆด้วยกันในรูปแบบใหม่และจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์มักเรียกกันว่า “การคิดนอกกรอบ”
2. การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking) หมายถึง กระบวนการคิดในรายละเอียด ความสามารถในการแยกแยะส่วนต่างๆออกเป็นส่วนพื้นฐาน หรือส่วนย่อยๆ เพื่อตรวจสอบและวิเคราะห์ความเชื่อมโยง หรือความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่างๆ  เป็นการคิดในเชิงตรรกะทีละขั้นตอนเพื่อแบ่งระบบข้อมูลขนาดใหญ่ออกเป็นส่วน ๆ เพื่อมาวิเคราะห์หาสาเหตุ หรือเป้าหมายที่ต้องการ
3. การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) หมายถึง กระบวนการคิดโดยใช้วิจารณญาณหรือการตัดสินอย่างรอบคอบ  โดยใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ประเด็น รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลต่างๆรอบด้าน การสำรวจองค์ประกอบอื่น ๆ ที่อาจมีอิทธิพลต่อข้อสรุป เพื่อตรวจสอบพิจารณา ตัดสินและประเมินความถูกต้อง หรือสิ่งที่เป็นประเด็นในขณะนั้นๆ ให้แม่นยำ
4. การคิดเชิงกลยุทธ์ (strategic thinking) หมายถึง กระบวนการคิด โดยการวิเคราะห์และประเมินเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการปฏิบัติ เพื่อตัดสินใจให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สถานการณ์ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
5. การคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptual thinking) หมายถึง กระบวนการคิดในการเชื่อมโยงส่วนประกอบย่อยๆ หรือความสัมพันธ์ของข้อมูล เพื่อให้เห็นภาพใหญ่ หรือระบบได้อย่างชัดเจนและมีระบบ
6. การคิดเปรียบเทียบ (comparative thinking) หมายถึง กระบวนการคิดเพื่อพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือเหตุการณ์ต่างๆที่มีลักษณะหรือความสัมพันธ์ที่ใกล้เคียงกัน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และตัดสินใจ หรือเปรียบเทียบเพื่อแก้ไขปัญหาจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต เพื่อป้องกันอนาคต หรือแม้กระทั่ง เพื่อจุดประกายความคิดใหม่ๆ ให้ต่างจากของเดิม เป็นต้น
7. การคิดเชิงบวก (Positive thinking) หมายถึง กระบวนการคิดและเข้าใจในสิ่งที่เป็นทั้งด้านบวกและด้านลบ  แล้วหาเรื่องราวดีๆ หรือมุมบวก ในเหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่ได้พบเจอ   เพื่อยอมรับ เรียนรู้ ปรับปรุงแก้ไข และให้เราเติบโตขึ้น
8. การคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative thinking) หมายถึงกระบวนการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆและนวัตกรรม จากทักษะและกระบวนการคิดแบบต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อผู้คน สังคม โลก ออกมาเป็นรูปธรรม และสามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้
9. การคิดเชิงระบบ (System thinking) หมายถึง กระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นตอน การมองภาพรวมอย่างเป็นระบบ มีส่วนประกอบย่อยๆ มีขั้นตอน และรายละเอียดแยกย่อยออกมา และเชื่อมโยงกับระบบต่าง.
รูปภาพในห้องเรียน

วาดภาพต่อเติม


การประเมิน
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายสุภาพ ตั้งใจทำงานตามที่อาจารย์สั่งและส่งตรงเวลา
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์
ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์และให้นักศึกษา คิดสร้างสรรค์ตัวเลขของตัวเอง